วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
กาพย์ฉบัง 16
กาพย์ฉบัง 16
ตัวอย่าง กาพย์ฉบัง ๑๖
อินทรชิตบิดเบือนกายิน......เหมือนองค์อมรินทร์
ทรงคชเอราวัณ
ช้างนิรมิตฤทธิ์แรงแข็งขัน.....เผือกผ่องผิวพรรณ
สีสังข์สะอาดโอฬาร์
กฏ
1. บทหนึ่งมี 3 วรรค วรรคแรกมี 6 คำ วรรคที่สองมี 4 คำ และวรรคที่สามมี 6 คำ รวมบทหนึ่งมี 16 คำ จึงเรียกว่ากาพย์ฉบัง 16
2. สัมผัสมีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สอง ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องใช้คำสุดท้ายของวรรคต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคแรกของบทต่อไป ซึ่งถือเป็นสัมผัสระหว่างบท
3. คำสุดท้ายของบทห้ามใช้คำตาย หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญหรือจัตวา
4. กาพย์ฉบัง นิยมแต่งเกี่ยวกับตอนที่เป็นบทพรรณนาโวหารและนิยมแต่งเป็นบทสวดและบทพากย์โขนด้วย
(หนังสืออ้างอิง รศ.วิเชียร เกษประทุม,2550,ลักษณะคำประพันธ์ไทย,สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา,หน้า 105)
อธิบายเพิ่มเติม กาพย์ฉบัง ๑๖
คณะ คณะของกาพย์ฉบังมีดังนี้
กาพย์ฉบังบทหนึ่งมีเพียง ๑ บาท แต่มี ๓ วรรค คือ วรรคต้น วรรกลาง และวรรคท้าย
พยางค์ พยางค์หรือคำในวรรคต้นมี ๖ คำ วรรคกลางมี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมทั้งบทมี ๑๖ คำ จึงเขียนเลข ๑๖ ไว้หลังกาพย์ฉบัง
สัมผัส มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์ฉบังดังนี้
ก. สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสประกอบ
๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคกลาง (บูชา-มารดา)
๒) คำสุดท้ายของวรรคท้ายในบทที่ ๑สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคต้นในบทที่ ๒ (ตน-กมล)
และในบทต่อ ๆ ไปก็มีสัมผัสทำนองเดียวกับข้อ ๑ และ ข้อ ๒
ข. สัมผัสใน (ไม่บังคับ)
๓) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ มีในบทที่ ๑วรรคท้าย คือ กำเนิด-เกิด ในบทที่ ๒ วรรคท้ายคือ มหา-สาครินทร์ ในบทที่ ๔ วรรคท้าย คือวิชา-อาทร ภาษา-จริยา-สง่าศรี
๔) สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษร มีดังนี้
บทที่ ๑ ข้า-ขอ บิดร-มารดา ก่อ-กำเนิด-เกิด
บทที่ ๒ กตัญญู-ยึด มั่น-กมล
บทที่ ๓ ข้า-ขอ-คุณ สั่ง-สอน
บทที่ ๔ ถ่าย-ทอด-อาทร ภาษา-สง่าศรี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น