วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
การขับเสภา
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑ แต่เพิ่ม ครุ, ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (1)
เสนอโทษะเกียจคร้าน กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน กลหกประการแถลง
เสนอโทษะเกียจคร้าน กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน กลหกประการแถลง
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (2)
ราชาพระมิ่งขวัญ สุนิรันดร์ประเสริฐศรี
ไพร่ฟ้าประดามี มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์ กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย ชุติโชติเชวงเวียง
ไพร่ฟ้าประดามี มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์ กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย ชุติโชติเชวงเวียง
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (3)
พวกราชมัลโดย พลโบยมืใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว
บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีระรัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระรัวไหล
พวกราชมัลโดย พลโบยมืใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว
บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีระรัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระรัวไหล
ที่มา: หนังสือร้อยรสพจมาน
กลอนสักวา
ฉันทลักษณ์
๑. กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค หรือ ๒ คำกลอน วรรค หนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องขึ้น บทใหม่ ไม่ต้องมี สัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น
๒. ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “สักวา” และลงท้าย ด้วยคำว่า “เอย”
๓. สัมผัสและความไพเราะ เหมือนกับกลอนสุภาพ
๑. กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค หรือ ๒ คำกลอน วรรค หนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องขึ้น บทใหม่ ไม่ต้องมี สัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น
๒. ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “สักวา” และลงท้าย ด้วยคำว่า “เอย”
๓. สัมผัสและความไพเราะ เหมือนกับกลอนสุภาพ
ตัวอย่าง
๐ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
๐ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
โคลงสุภาพ
โคลงสุภาพ
โคลง 2 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
โคลง 3 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
โคลง 4 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่าง:
โคลง 2 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
โคลง 3 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
โคลง 4 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่าง:
ลักษณะของโคลง
โคลง
โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ
โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ
1. โคลง 2 สุภาพ
2. โคลง 3 สุภาพ
3. โคลง 4 สุภาพ
4. โคลง 4 ตรีพิธพรรณ
5. โคลง 5 หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
6. โคลง 4 จัตวาทัณฑี
7. โคลงกระทู้
โคลงดั้น แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ
1. โคลง 2 ดั้น
2. โคลง 3 ดั้น
3. โคลงดั้นวิวิธมาลี
4. โคลงดั้นบาทกุญชร
5. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
6. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ 15 กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ 8 ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้
แบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ
1. โคลงวิชชุมาลี
2. โคลงมหาวิชชุมาลี
3. โคลงจิตรลดา
4. โคลงมหาจิตรลดา
5. โคลงสินธุมาลี
6. โคลงมหาสินธุมาลี
7. โคลงนันททายี
8. โคลงมหานันททายี
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ 6 อย่าง คือ
1. คณะ
2. พยางค์
3. สัมผัส
4. เอกโท
5. คำเป็นคำตาย
6. คำสร้อย
คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น 2 อย่าง คือ
1.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
2.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์
โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ
โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ
1. โคลง 2 สุภาพ
2. โคลง 3 สุภาพ
3. โคลง 4 สุภาพ
4. โคลง 4 ตรีพิธพรรณ
5. โคลง 5 หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
6. โคลง 4 จัตวาทัณฑี
7. โคลงกระทู้
โคลงดั้น แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ
1. โคลง 2 ดั้น
2. โคลง 3 ดั้น
3. โคลงดั้นวิวิธมาลี
4. โคลงดั้นบาทกุญชร
5. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
6. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ 15 กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ 8 ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้
แบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ
1. โคลงวิชชุมาลี
2. โคลงมหาวิชชุมาลี
3. โคลงจิตรลดา
4. โคลงมหาจิตรลดา
5. โคลงสินธุมาลี
6. โคลงมหาสินธุมาลี
7. โคลงนันททายี
8. โคลงมหานันททายี
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ 6 อย่าง คือ
1. คณะ
2. พยางค์
3. สัมผัส
4. เอกโท
5. คำเป็นคำตาย
6. คำสร้อย
คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น 2 อย่าง คือ
1.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
2.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์
กาพย์สุรางคนางค์ 28
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เป็นกาพย์ที่มีเค้ามาจาก กาพย์กากคติในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี และมาจากกาพย์ทัณฑิกา ในกาพย์คันถะ และยังมีผู้รู้บางท่านมีความเชื่อมั่นว่า มาจาก ฉันท์ชื่อวิสาลวิกฉันท์ ซึ่งมีที่มาจากคำบาลี ที่ขึ้นต้นด้วยบทว่า
สุราคณา สุโสภณา รปิรโก
สมานสิ ภวนฺทโน สเรนโก รตฺตินฺทิวา
สุรางคนางค์นี้ ใน จินดามณี เรียกว่า สุรางคณาปทุมฉันท์กลอน ๔
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ นี้ ในหนึ่งบท มี ๒ บาท บาทแรกมี ๓ วรรค บาทที่สอง มี ๔ วรรค วรรคหนึ่ง มี ๔ คำ รวมเป็น ๗ วรรค ในหนึ่งบท ถ้านับคำได้เป็น ๒๘ คำ ด้วยเหตุนี้ จึงเรียก กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
การสัมผัสนั้น มีหลักดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ และวรรคที่ ๖ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๕ ส่วนการสัมผัสระหว่างบทนั้น คือ คำสุดท้ายของบทแรกไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ในบทถัดไป และถ้าแต่งไปอีกกี่บทก็ตาม ให้ถือหลักการสัมผัสอย่างนี้ไปจนจบเนื้อความตามต้องการ ดังแผนผังการสัมผัส ดังนี้
เพลิดเพลินใจไปกับธรรมชาติในป่า
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
เดินดงพงไพร เยือกเย็นเป็นใจ ที่ใดเปรียบปาน
เสียงไก่ก้องป่า ขันลาวันวาน เสียงนกร้องขาน สำราญหัวใจ
เสียงเขียดเสียงกบ เสียงดังฟังครบ บรรจบขานไข
นกยูงกระยาง เดินย่างไวไว ดูสวยสดใส ยวนใจผู้คน
เห็นกวางย่างเดิน มองดูเพลิดเพลิน จำเริญกมล
กระแตไต่ไม้ เพื่อได้กินผล ทุกตัวทุกตน บนต้นไม้งาม
เถาวัลย์พันต้น ใบไม้คลุมบน เขียวมากหลากหลาม
บางพุ่มคลุมปก ร่มรกรุ่มร่าม แต่ดูสวยงาม ไปตามดงไพร
ยังมีน้ำตก ยั่วยวนเย้านก เสียงดังหลั่งไหล
กระทบภูผา ไหลมาดูใจ ไม่เลือกหน้าใคร เย็นสุขทุกคน
เย็นน้ำสามเขา ไม่สู้ใจเรา เย็นทุกแห่งหน
จะอยู่ที่ไหน หัวใจสุขล้น ให้ทุกผู้คน สุขล้นทั่วกัน
น้ำตกไหลเย็น กระทบหินเห็น มองดูสุขสันต์
น้ำตกทบหิน ไม่สิ้นชีวัน เพราะสิ่งสร้างสรรค์ หินมันแข็งแรง
ส่วนคนเดินดิน ทำใจเหมือนหิน อดทนเข้มแข็ง
โลกธรรมกระทบ ตะลบตะแลง จิตไม่แสดง โต้ตอบอารมณ์
ให้เย็นเหมือนน้ำ หินเปรียบเทียบความ ช่างงามเหมาะสม
หินไม่หวั่นไหว น้ำไม่ชื่นชม กระทบเหมือนลม ผ่านมาผ่านไป
ทั้งน้ำทั้งหิน ไม่มีราคิน กระทบแล้วไหล
เปรียบดังอารมณ์ เหมาะสมภายใน ไหลมาแล้วไป ทำใจเป็นกลาง
คนเราเกิดมา ไม่เร็วก็ช้า ต้องมาละวาง
ทิ้งทรัพย์สมบัติ เซซัดหนทาง นอนตายกายห่าง ทุกร่างทุกคน
จงดูโลกนี้ พิเคราะห์ให้ดี มีแต่สับสน
กิเลสตัณหา ชักพาฝูงชน ให้หลงลืมตน เกลือกกลั้วโลกีย์
เดินเที่ยวในป่า อารมณ์ชมมา สุขาวดี
ลืมทุกข์โศกเศร้า เคยร้าวราคี มาจบลงที่ กลางดงพงไพร
สุขสันต์ทั่วหน้า เมื่อได้ชมป่า จิตใจสดใส
เสียงนกนางร้อง ดังก้องพงไพร ส่งเสียงใกล้ไกล ให้ใจเพลิดเพลิน
ร่มเย็นเห็นไม้ ทุกคนที่ได้ เหมือนนกเหาะเหิน
บินหาลูกไม้ กินได้ให้เพลิน พบหนทางเดิน ไม่เกินดงไพร
เป็นสุขจริงจริง ทั้งชายและหญิง ยิ่งเดินป่าไป
ชมธรรมชาติ สะอาดหมดภัย ทุกหนแห่งไหน ให้ใจสุขเอย.
..........................
ขอบพระคุณท่าน อ.หยาดกวี... มอบมรดกภาษา ควรค่า ที่คนไทย ควรใส่ใจอนุรักษ์
(ครูหนู) ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒
กาพย์ฉบัง 16
กาพย์ฉบัง 16
ตัวอย่าง กาพย์ฉบัง ๑๖
อินทรชิตบิดเบือนกายิน......เหมือนองค์อมรินทร์
ทรงคชเอราวัณ
ช้างนิรมิตฤทธิ์แรงแข็งขัน.....เผือกผ่องผิวพรรณ
สีสังข์สะอาดโอฬาร์
กฏ
1. บทหนึ่งมี 3 วรรค วรรคแรกมี 6 คำ วรรคที่สองมี 4 คำ และวรรคที่สามมี 6 คำ รวมบทหนึ่งมี 16 คำ จึงเรียกว่ากาพย์ฉบัง 16
2. สัมผัสมีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สอง ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องใช้คำสุดท้ายของวรรคต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคแรกของบทต่อไป ซึ่งถือเป็นสัมผัสระหว่างบท
3. คำสุดท้ายของบทห้ามใช้คำตาย หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญหรือจัตวา
4. กาพย์ฉบัง นิยมแต่งเกี่ยวกับตอนที่เป็นบทพรรณนาโวหารและนิยมแต่งเป็นบทสวดและบทพากย์โขนด้วย
(หนังสืออ้างอิง รศ.วิเชียร เกษประทุม,2550,ลักษณะคำประพันธ์ไทย,สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา,หน้า 105)
อธิบายเพิ่มเติม กาพย์ฉบัง ๑๖
คณะ คณะของกาพย์ฉบังมีดังนี้
กาพย์ฉบังบทหนึ่งมีเพียง ๑ บาท แต่มี ๓ วรรค คือ วรรคต้น วรรกลาง และวรรคท้าย
พยางค์ พยางค์หรือคำในวรรคต้นมี ๖ คำ วรรคกลางมี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมทั้งบทมี ๑๖ คำ จึงเขียนเลข ๑๖ ไว้หลังกาพย์ฉบัง
สัมผัส มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์ฉบังดังนี้
ก. สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสประกอบ
๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคกลาง (บูชา-มารดา)
๒) คำสุดท้ายของวรรคท้ายในบทที่ ๑สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคต้นในบทที่ ๒ (ตน-กมล)
และในบทต่อ ๆ ไปก็มีสัมผัสทำนองเดียวกับข้อ ๑ และ ข้อ ๒
ข. สัมผัสใน (ไม่บังคับ)
๓) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ มีในบทที่ ๑วรรคท้าย คือ กำเนิด-เกิด ในบทที่ ๒ วรรคท้ายคือ มหา-สาครินทร์ ในบทที่ ๔ วรรคท้าย คือวิชา-อาทร ภาษา-จริยา-สง่าศรี
๔) สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษร มีดังนี้
บทที่ ๑ ข้า-ขอ บิดร-มารดา ก่อ-กำเนิด-เกิด
บทที่ ๒ กตัญญู-ยึด มั่น-กมล
บทที่ ๓ ข้า-ขอ-คุณ สั่ง-สอน
บทที่ ๔ ถ่าย-ทอด-อาทร ภาษา-สง่าศรี
กาพย์ยานี 11
ตัวอย่างคำประพันธ์
สิบเอ็ดบอกความนัย | หนึ่งบาทไซร้ของพยางค์ |
วรรคหน้าอย่าเลือนราง | จำนวนห้าพาจดจำ |
หกพยางค์ในวรรคหลัง | ตามแบบตั้งเจ้าลองทำ |
สัมผัสตามชี้นำ | โยงเส้นหมายให้เจ้าดู |
สุดท้ายของวรรคหนึ่ง | สัมผัสตรึงสามนะหนู |
หกห้าโยงเป็นคู่ | เร่งเรียนรู้สร้างผลงาน |
อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์ |
คณะ กาพย์ยานี ได้ชื่อว่ายานี ๑๑ เพราะ จำนวนพยางค์ใน ๒ วรรค หรือ ๑ บรรทัด รวมได้ ๑๑ พยางค์ ๑ บท มี ๔ วรรค วรรคหน้า ๕ พยางค์ วรรคหลัง ๖พยางค์ |
สัมผัสระหว่างวรรค ใน ๑ บท มีสัมผัส ๒ คู่ สังเกตจากแผนผังและตัวอย่าง |
ตัวอย่าง
|
คลื่นคลั่งทะเลโถม | กระหน่ำโหมทะเลคน |
คลื่นซัดระบัดชล | เฉกจะล้างฤๅอย่างไร |
ยิ้มแย้มแต้มเกลื่อนอยู่ | มินึกรู้เหตุการณ์ใด |
ธรณีพิโรธไย | จึงเข่นฆ่าประชากร |
ฟ้าดินดาวเดือนดับ | คณานับขจายขจร |
เสียงร่ำด้วยร้าวรอน | ร้องหวีดหวาดทะเลตรม |
สายตาที่แตะต้อง | ทุกที่ท้องล้วนทุกข์ถม |
ซากศพกลางเลนตม | สู้แดดลมอย่างเดียวดาย |
ฟ้าพรากจากอกฟ้า | ปวงประชาพาขวัญหาย |
"พุ่ม"เพิ่งฉกรรจ์กาย | ลาลับหมายกรายเยี่ยมฟ้า |
คลื่นใจจึงรวมจิต | ร่วมอุทิศคลื่นศรัทธา |
.สยบคลื่นยักษา | ร่วมเยียวยาด้วยคลื่นใจ |
อ.ภาทิพ | |
30/12/2004 11:11 |
ฝันร้าย ๑
.เพราะงามจึงตามฝัน | จิตมุ่งมั่นมุ่งหมายมา |
หลายชาติหลายภาษา | ร่วมชะตาชมอ่าวงาม |
หัวเราะระเริงรื่น. | แสนสดชื่นอ่าวสยาม |
บ้างมองฟ้าสีคราม | วิ่งไล่ตามโล้คลื่นลม |
บัดเดี๋ยวน้ำเหือดหาย | ม้วนกลับคล้ายจะขู่ข่ม |
.สรรพสิ่งต่างดิ่งจม | หวีดระงมตะลึงลาน |
งงงงแล้วคงนิ่ง | เกินไหวติงแม้คืบคลาน |
คลื่นคลั่งเข้าสังหาร | สุดแรงต้านรักษาตัว |
พ่อแม่เหลียวแลลูก | เจ้าบุญปลูกร้องระรัว |
มือหมายคว้าไขว่ทั่ว | โคลนขุ่นมัวกลบเกลื่อนกาย |
ใจหายตายทั้งเป็น | สุดลำเค็ญใต้โคลนทราย |
.ใช่เป็นเช่นฝันร้าย | หมื่นชีพวายใต้หาดงาม |
อ.ภาทิพ |
คลื่น ๓ | |
ภูเก็ตเพชรเพริศแพร้ว | เลือนลับแล้วทะเลคราม |
ธันวาสี่เจ็ดคร้าม | ทุกเขตคามเหลือร่องรอย |
รอยร้างพร่างพร่าเกลื่อน | ร้านเรือเรือนร้างคนคอย |
คอยคนหลายวันคล้อย | เพียงศพลอยที่เยือนมา |
น้ำตาจึงพร่าพร่าง | ทุกก้าวย่างอนาถา |
ศพซากลากนำมา | ไร้ชีวาไร้แรงลม |
ลมแรงแห่งเกลียวคลื่น | อ้าปากกลืนชีวิตจม |
จมจ่อมพร้อมทับถม | โศกเศร้าซมผู้พบพาน |
พานพาหาคนรัก | วันสู่ปักษ์จักร้าวราน |
รานร้าวนั้นเนิ่นนาน | เพราะล่วงกาลมิผ่านพบ |
พบเพียงเสียงร่ำไห้ | ทั้งเทศไทยมาบรรจบ |
จบกิจคิดเรื่องรบ | มาสมทบช่วยคลี่คลาย |
คลายทุกข์ที่โศกเศร้า | เพื่อบรรเทาเยียวยากาย |
กายใจไม่สบาย | จงเลือนหายร้ายจากภูฯ |
: | ครูหมูอ้วน - 30/12/2004 14:04 |
กาพย์
กาพย์ หรือ คำกาพย์ หมายถึง คำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง มีลักษณะวรรคที่ค่อนข้างเคร่งครัด คล้ายกับฉันท์ แต่ไม่บังคับครุ ลหุ วรรคหนึ่งมีคำค่อนข้างน้อย (4-6 คำ) นิยมใช้แต่งร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือแต่งร่วมกับฉันท์ก็ได้
กาพย์เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีทั้งที่แต่งเป็นหนังสืออ่านเล่น แต่งเป็นหนังสือสวด หรือเป็นนิทาน กระทั่งเป็นตำราสอนก็มี
กาพย์มีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน โปรดดูรายละเอียดของแต่ละชนิด ตามหัวข้อต่อไปนี้
- กาพย์ฉบัง ๑๖
- กาพย์ฉบังนาคบริพันธ์ ๑๖
- กาพย์ยานี ๑๑
- กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
- กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ (กาพย์ธนัญชยางค์)
- กาพย์สุรางคนางค์ ๓๖ (กาพย์ขับไม้)
กลอนแปด
กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
คำท้ายวรรคสดับ | กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง |
คำท้ายวรรครับ | กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรครอง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรคส่ง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
๓. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
ตัวอย่างกลอนแปด
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย
วางเค้าโครงโยงคำค่อยนำเขียน
เฝ้าพากเพียรเจียรจารนำขานไข
จะถูกนิดผิดบ้างช่างปะไร
เขียนด้วยใจใฝ่รักอักษรา
เฝ้าพากเพียรเจียรจารนำขานไข
จะถูกนิดผิดบ้างช่างปะไร
เขียนด้วยใจใฝ่รักอักษรา
แม้ไม่เก่งเพลงกลอนยังอ่อนด้อย
แต่ใจรักถักถ้อยร้อยภาษา
แม้ถ้อยคำนำเขียนไม่เนียนตา
อย่าโมโหโกรธาต่อว่ากัน
แต่ใจรักถักถ้อยร้อยภาษา
แม้ถ้อยคำนำเขียนไม่เนียนตา
อย่าโมโหโกรธาต่อว่ากัน
ทุกทุกวรรคถัก-ร่ายหมายสืบสาน
ทุกอักษรกลอนกานท์บนลานฝัน
อาบคุณค่าช้านานแห่งวารวัน
เป็นของขวัญค่าล้นเพื่อชนไทย….
“victoria secret klonthaiclub.com“
ทุกอักษรกลอนกานท์บนลานฝัน
อาบคุณค่าช้านานแห่งวารวัน
เป็นของขวัญค่าล้นเพื่อชนไทย….
“victoria secret klonthaiclub.com“
…เด็กอัญมณีมีเสน่ห์ ทั้งสวยเท่ห์มากมายชายและหญิง
แสงระยิบระยับวับวาวจริง ดั่งมนต์สิงอยู่รูปจูบแก้วพลอย
แสงระยิบระยับวับวาวจริง ดั่งมนต์สิงอยู่รูปจูบแก้วพลอย
…ไม่เป็นสองรองใครไทยประดิษฐ์ งามวิจิตรเหลี่ยมพราวราวสุดสอย
มีเพชรนิลกลิ่นนางมิจางรอย ใจเฝ้าคอยถอยเพชรเก็จมณี…
“ตะวันฉาย klonthaiclub.com“
มีเพชรนิลกลิ่นนางมิจางรอย ใจเฝ้าคอยถอยเพชรเก็จมณี…
“ตะวันฉาย klonthaiclub.com“
ข้อสังเกต
กลอนทุกประเภทบังคับเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ สัมผัสนอกระหว่างวรรค เฉพาะวรรค
ที่สอง (วรรครับ) และวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้น จะรับสัมผัสที่คำที่สามหรือคำที่ห้าย่อมได้เสมอ
ส่วนสัมผัสในนั้นจะใช้สัมผัสสระหรืออักษรก็ได้ และสัมผัสสระจะใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับ
สระเสียงยาวก็ได้ เช่น
“อ่านเขียนคล่องท่องจำตามแบบครู”
กลอนทุกประเภทบังคับเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ สัมผัสนอกระหว่างวรรค เฉพาะวรรค
ที่สอง (วรรครับ) และวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้น จะรับสัมผัสที่คำที่สามหรือคำที่ห้าย่อมได้เสมอ
ส่วนสัมผัสในนั้นจะใช้สัมผัสสระหรืออักษรก็ได้ และสัมผัสสระจะใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับ
สระเสียงยาวก็ได้ เช่น
“อ่านเขียนคล่องท่องจำตามแบบครู”
กลอนหก
กลอนหก
ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก
๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก
๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
คำท้ายวรรคสดับ | กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง |
คำท้ายวรรครับ | กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรครอง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรคส่ง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
๓. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส
ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส
ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข้อสังเกต กลอนหกไม่เคร่งสัมผัสในวรรคมากนัก อาจย้ายที่สัมผัสจากคำที่สองไปคำที่สี่ได้ หรือ
จะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่น
ทุกวรรค – ทุกบท – ทุกตอน
ตัวอย่าง กลอน๖ อื่นๆ
จะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่น
ทุกวรรค – ทุกบท – ทุกตอน
ตัวอย่าง กลอน๖ อื่นๆ
สองหนึ่ง เป็นสอง ตรองไว้
กลอนหก ยกให้ คู่สอง
หาคำ งดงาม ทำนอง
สอดคล้อง ขานรับ จับวาง
กลอนหก ยกให้ คู่สอง
หาคำ งดงาม ทำนอง
สอดคล้อง ขานรับ จับวาง
หัดแต่ง เติมแต้ม แนมรัก
อกหัก รักจาก ถากถาง
โศกเศร้า เว้าวอน สอนพลาง
หลายอย่าง ปนเป เล่ห์กลอน
อกหัก รักจาก ถากถาง
โศกเศร้า เว้าวอน สอนพลาง
หลายอย่าง ปนเป เล่ห์กลอน
ระวัง กลอนพา วารี
น้ำมี ขาดเนื้อ เบื่อหลอน
คัดสรรค์ ให้ถูก ขั้นตอน
ตรวจย้อน อักขระ วิธี
น้ำมี ขาดเนื้อ เบื่อหลอน
คัดสรรค์ ให้ถูก ขั้นตอน
ตรวจย้อน อักขระ วิธี
ได้ผล กลอนหก ยกนิ้ว
ยิ่งอ่าน หน้านิ่ว ลุกหนี
เนื้อหา ทำไม อย่างนี้
เหมือนผี หลอกหลอน กลอนประตู
ยิ่งอ่าน หน้านิ่ว ลุกหนี
เนื้อหา ทำไม อย่างนี้
เหมือนผี หลอกหลอน กลอนประตู
กลอนสี่
กลอนสี่ เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ 4 คำ กลอน 4
ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 4 ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ
ตัวอย่างกลอน 4 ในวรรณคดีไทยที่พบมี 2 แบบ คือ
กลอน 4 แบบที่ 1
กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O O | O O O O | |
O O O O | O O O O |
สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
- ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 1
เหวยเหวยอีจันทรา | ขึ้นหน้าเถียงผัว | |
อุบาทว์ชาติชั่ว | ไสหัวมึงไป |
นางจันทาเถียงเล่า | พระองค์เจ้าหลงไหล | |
ไล่ตีเมียไย | พระไม่ปรานี |
เมียผิดสิ่งใด | พระไล่โบยตี | |
หรือเป็นกาลี | เหมือนที่ขับไป | |
— บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง |
กลอน 4 แบบที่ 2
คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O O | O O O O | |
O O O O | O O O O |
O O O O | O O O O | |
O O O O | O O O O |
สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
- ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 2
จักกรีดจักกราย | จักย้ายจักย่อง | |
ไม่เมินไม่มอง | ไม่หมองไม่หมาง |
งามเนื้องามนิ่ม | งามยิ้มงามย่าง | |
ดูคิ้วดูคาง | ดูปรางดูปรุง |
ดั่งดาวดั่งเดือน | ดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย | |
พิศเช่นพิศช้อย | พิศสร้อยพิศสุง |
ช่างปลอดช่างเปรื่อง | ช่างเรืองช่างรุ่ง | |
ทรงแดดทรงดุ่ง | ทรงวุ้งทรงแวง | |
— กลบทจาตุรงคนายก, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปีชา (เซ่ง) |
สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่กวีมักจัดให้มีสัมผัสระระหว่างคำที่สองและคำที่สามของทุกวรรค
ตย.กลอนสี่อื่นๆ
สงสัยมานาน……………ขันขานก็บ่อย
อีกทั้งเรียงร้อย………….ถ้อยคำภาษา
สอบถามเรื่อยไป………..มีใครบ้างนา
รู้บ้างไหมหนา………….ว่ากลอนอะไร ฯ
สงสัยมานาน……………ขันขานก็บ่อย
อีกทั้งเรียงร้อย………….ถ้อยคำภาษา
สอบถามเรื่อยไป………..มีใครบ้างนา
รู้บ้างไหมหนา………….ว่ากลอนอะไร ฯ
นี่คือตัวอย่าง……………..ท่านวางเอาไว้
กลอนสี่นี่ไง……………….เชื่อได้เลยเธอ
พี่นุพบเห็น………………..ประเด็นเสนอ
บอกเล่าไว้เออ……………..เผื่อเธอสนใจ ฯ
กลอนสี่นี่ไง……………….เชื่อได้เลยเธอ
พี่นุพบเห็น………………..ประเด็นเสนอ
บอกเล่าไว้เออ……………..เผื่อเธอสนใจ ฯ
มีคำสัมผัส…………………รึงรัดที่ไหน
ค่อยสังเกตไป………………มองให้ดีดี
ในวรรคที่สอง……………..ค่อยมองดูซี
อีกทั้งวรรคสี่……………….คำมีรับกัน ฯ
ค่อยสังเกตไป………………มองให้ดีดี
ในวรรคที่สอง……………..ค่อยมองดูซี
อีกทั้งวรรคสี่……………….คำมีรับกัน ฯ
วรรคสามก็ด้วย……………ต่างช่วยแต่งฉันท์
วรรคสี่ก็พลัน………………จัดสรรส่งไป
สัมผัสหลายที่……………..ดูสิตรงไหน
ยากง่ายยังไง………………ขอให้แต่งดู ฯ
วรรคสี่ก็พลัน………………จัดสรรส่งไป
สัมผัสหลายที่……………..ดูสิตรงไหน
ยากง่ายยังไง………………ขอให้แต่งดู ฯ
ที่แต่งผ่านมา………………ถือว่าพลาดอยู่
เพราะความไม่รู้…………..อดสูอยู่นา
ค่อยเป็นค่อยไป……………ค่อยใช้ปัญญา
ค่อยแก้ปัญหา……………..ค่อยมาคุยกัน…ฯ
= = = = = =
เพราะความไม่รู้…………..อดสูอยู่นา
ค่อยเป็นค่อยไป……………ค่อยใช้ปัญญา
ค่อยแก้ปัญหา……………..ค่อยมาคุยกัน…ฯ
= = = = = =
๐ วันว่างห่างงาน รำคาญยิ่งนัก
อยู่บ้านผ่อนพัก สักนิดผ่อนคลาย
๐ หยิบหนังสืออ่าน ผ่านตาดีหลาย
กลอนสี่ท้าทาย หมายลองเขียนดู
๐ หากท่านใดว่าง ร่วมทางฝึกรู้
กลอนได้เชิดชู อยู่อย่างมั่นคง
๐ เสียงไม่บังคับ จับสัมผัสส่ง
สี่คำเจาะจง ลงมือกันเลย
อยู่บ้านผ่อนพัก สักนิดผ่อนคลาย
๐ หยิบหนังสืออ่าน ผ่านตาดีหลาย
กลอนสี่ท้าทาย หมายลองเขียนดู
๐ หากท่านใดว่าง ร่วมทางฝึกรู้
กลอนได้เชิดชู อยู่อย่างมั่นคง
๐ เสียงไม่บังคับ จับสัมผัสส่ง
สี่คำเจาะจง ลงมือกันเลย
กลอนสุภาพ
กลอนสุภาพ
เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น คำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า “สุภาพ” นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง “รูปวรรณยุกต์” ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้น คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)