ฉันทลักษณ์ไทยที่ควรทราบ
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
การขับเสภา
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑ แต่เพิ่ม ครุ, ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (1)
เสนอโทษะเกียจคร้าน กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน กลหกประการแถลง
เสนอโทษะเกียจคร้าน กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน กลหกประการแถลง
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (2)
ราชาพระมิ่งขวัญ สุนิรันดร์ประเสริฐศรี
ไพร่ฟ้าประดามี มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์ กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย ชุติโชติเชวงเวียง
ไพร่ฟ้าประดามี มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์ กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย ชุติโชติเชวงเวียง
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (3)
พวกราชมัลโดย พลโบยมืใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว
บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีระรัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระรัวไหล
พวกราชมัลโดย พลโบยมืใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว
บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีระรัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระรัวไหล
ที่มา: หนังสือร้อยรสพจมาน
กลอนสักวา
ฉันทลักษณ์
๑. กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค หรือ ๒ คำกลอน วรรค หนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องขึ้น บทใหม่ ไม่ต้องมี สัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น
๒. ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “สักวา” และลงท้าย ด้วยคำว่า “เอย”
๓. สัมผัสและความไพเราะ เหมือนกับกลอนสุภาพ
๑. กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค หรือ ๒ คำกลอน วรรค หนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องขึ้น บทใหม่ ไม่ต้องมี สัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น
๒. ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “สักวา” และลงท้าย ด้วยคำว่า “เอย”
๓. สัมผัสและความไพเราะ เหมือนกับกลอนสุภาพ
ตัวอย่าง
๐ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
๐ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
โคลงสุภาพ
โคลงสุภาพ
โคลง 2 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
โคลง 3 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
โคลง 4 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่าง:
โคลง 2 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
โคลง 3 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
โคลง 4 สุภาพ
แผน:
ตัวอย่าง:
ตัวอย่าง:
ลักษณะของโคลง
โคลง
โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ
โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ
1. โคลง 2 สุภาพ
2. โคลง 3 สุภาพ
3. โคลง 4 สุภาพ
4. โคลง 4 ตรีพิธพรรณ
5. โคลง 5 หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
6. โคลง 4 จัตวาทัณฑี
7. โคลงกระทู้
โคลงดั้น แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ
1. โคลง 2 ดั้น
2. โคลง 3 ดั้น
3. โคลงดั้นวิวิธมาลี
4. โคลงดั้นบาทกุญชร
5. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
6. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ 15 กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ 8 ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้
แบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ
1. โคลงวิชชุมาลี
2. โคลงมหาวิชชุมาลี
3. โคลงจิตรลดา
4. โคลงมหาจิตรลดา
5. โคลงสินธุมาลี
6. โคลงมหาสินธุมาลี
7. โคลงนันททายี
8. โคลงมหานันททายี
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ 6 อย่าง คือ
1. คณะ
2. พยางค์
3. สัมผัส
4. เอกโท
5. คำเป็นคำตาย
6. คำสร้อย
คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น 2 อย่าง คือ
1.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
2.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์
โคลง คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีวิธีเรียบเรียงถ้อยคำ เข้าคณะ มีกำหนดเอกโท และสัมผัส แต่มิไดบัญญัติ บังคับ ครุลหุ โคลงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น และโคลงโบราณ
โคลงสุภาพ แบ่งออกเป็น 7 ชนิด คือ
1. โคลง 2 สุภาพ
2. โคลง 3 สุภาพ
3. โคลง 4 สุภาพ
4. โคลง 4 ตรีพิธพรรณ
5. โคลง 5 หรือมณฑกคติ (ปัจจุบันไม่นิยมแต่งกันแล้ว)
6. โคลง 4 จัตวาทัณฑี
7. โคลงกระทู้
โคลงดั้น แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ
1. โคลง 2 ดั้น
2. โคลง 3 ดั้น
3. โคลงดั้นวิวิธมาลี
4. โคลงดั้นบาทกุญชร
5. โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
6. โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
โคลงโบราณ มีลักษณะคล้ายโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ไม่บังคับเอกโท มีบังคับแต่เพียงสัมผัสเท่านั้น เป็นโคลงที่ไทยเรา แปลงมาจากกาพย์ ในภาษาบาลี อันมีชื่อว่า คัมภีร์กาพยสารวิลาสินี ซึ่งว่าด้วยวิธีแต่งกาพย์ต่างๆ มีอยู่ 15 กาพย์ด้วยกัน แต่มีลักษณะเป็นโคลงอย่างแบบไทยอยู่ 8 ชนิด เพราะเหตุที่ไม่มีบังคับเอกโท จึงเรียกว่า โคลงโบราณ นอกนั้น มีลักษณะเป็นกาพย์แท้
แบ่งออกเป็น 8 ชนิด คือ
1. โคลงวิชชุมาลี
2. โคลงมหาวิชชุมาลี
3. โคลงจิตรลดา
4. โคลงมหาจิตรลดา
5. โคลงสินธุมาลี
6. โคลงมหาสินธุมาลี
7. โคลงนันททายี
8. โคลงมหานันททายี
ข้อบังคับ หรือบัญญัติของโคลง
การแต่งโคลง จะต้องมีลักษณะบังคับ หรือบัญญัติ 6 อย่าง คือ
1. คณะ
2. พยางค์
3. สัมผัส
4. เอกโท
5. คำเป็นคำตาย
6. คำสร้อย
คำสุภาพในโคลงนั้น มีความหมายเป็น 2 อย่าง คือ
1.หมายถึง คำที่ไม่มีเครื่องหมาย วรรณยุกต์เอกโท
2.หมายถึง การบังคับคณะ และสัมผัส อย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
ฉะนั้น คำสุภาพใน ฉันทลักษณ์ จึงผิดกับคำสุภาพใน วจีวิภาค เพราะในวจีวิภาค หมายถึง คำพูดที่เรียบร้อย ไม่หยาบโลน ไม่เปรียบเทียบ กับของหยาบ หรือไม่เป็นคำ ที่มีสำเนียง และสำนวนผวนมา เป็นคำหยาบ ซึ่งนับอยู่ในประเภทราชาศัพท์
กาพย์สุรางคนางค์ 28
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เป็นกาพย์ที่มีเค้ามาจาก กาพย์กากคติในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี และมาจากกาพย์ทัณฑิกา ในกาพย์คันถะ และยังมีผู้รู้บางท่านมีความเชื่อมั่นว่า มาจาก ฉันท์ชื่อวิสาลวิกฉันท์ ซึ่งมีที่มาจากคำบาลี ที่ขึ้นต้นด้วยบทว่า
สุราคณา สุโสภณา รปิรโก
สมานสิ ภวนฺทโน สเรนโก รตฺตินฺทิวา
สุรางคนางค์นี้ ใน จินดามณี เรียกว่า สุรางคณาปทุมฉันท์กลอน ๔
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ นี้ ในหนึ่งบท มี ๒ บาท บาทแรกมี ๓ วรรค บาทที่สอง มี ๔ วรรค วรรคหนึ่ง มี ๔ คำ รวมเป็น ๗ วรรค ในหนึ่งบท ถ้านับคำได้เป็น ๒๘ คำ ด้วยเหตุนี้ จึงเรียก กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
การสัมผัสนั้น มีหลักดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ และวรรคที่ ๖ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๕ ส่วนการสัมผัสระหว่างบทนั้น คือ คำสุดท้ายของบทแรกไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ในบทถัดไป และถ้าแต่งไปอีกกี่บทก็ตาม ให้ถือหลักการสัมผัสอย่างนี้ไปจนจบเนื้อความตามต้องการ ดังแผนผังการสัมผัส ดังนี้
เพลิดเพลินใจไปกับธรรมชาติในป่า
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
เดินดงพงไพร เยือกเย็นเป็นใจ ที่ใดเปรียบปาน
เสียงไก่ก้องป่า ขันลาวันวาน เสียงนกร้องขาน สำราญหัวใจ
เสียงเขียดเสียงกบ เสียงดังฟังครบ บรรจบขานไข
นกยูงกระยาง เดินย่างไวไว ดูสวยสดใส ยวนใจผู้คน
เห็นกวางย่างเดิน มองดูเพลิดเพลิน จำเริญกมล
กระแตไต่ไม้ เพื่อได้กินผล ทุกตัวทุกตน บนต้นไม้งาม
เถาวัลย์พันต้น ใบไม้คลุมบน เขียวมากหลากหลาม
บางพุ่มคลุมปก ร่มรกรุ่มร่าม แต่ดูสวยงาม ไปตามดงไพร
ยังมีน้ำตก ยั่วยวนเย้านก เสียงดังหลั่งไหล
กระทบภูผา ไหลมาดูใจ ไม่เลือกหน้าใคร เย็นสุขทุกคน
เย็นน้ำสามเขา ไม่สู้ใจเรา เย็นทุกแห่งหน
จะอยู่ที่ไหน หัวใจสุขล้น ให้ทุกผู้คน สุขล้นทั่วกัน
น้ำตกไหลเย็น กระทบหินเห็น มองดูสุขสันต์
น้ำตกทบหิน ไม่สิ้นชีวัน เพราะสิ่งสร้างสรรค์ หินมันแข็งแรง
ส่วนคนเดินดิน ทำใจเหมือนหิน อดทนเข้มแข็ง
โลกธรรมกระทบ ตะลบตะแลง จิตไม่แสดง โต้ตอบอารมณ์
ให้เย็นเหมือนน้ำ หินเปรียบเทียบความ ช่างงามเหมาะสม
หินไม่หวั่นไหว น้ำไม่ชื่นชม กระทบเหมือนลม ผ่านมาผ่านไป
ทั้งน้ำทั้งหิน ไม่มีราคิน กระทบแล้วไหล
เปรียบดังอารมณ์ เหมาะสมภายใน ไหลมาแล้วไป ทำใจเป็นกลาง
คนเราเกิดมา ไม่เร็วก็ช้า ต้องมาละวาง
ทิ้งทรัพย์สมบัติ เซซัดหนทาง นอนตายกายห่าง ทุกร่างทุกคน
จงดูโลกนี้ พิเคราะห์ให้ดี มีแต่สับสน
กิเลสตัณหา ชักพาฝูงชน ให้หลงลืมตน เกลือกกลั้วโลกีย์
เดินเที่ยวในป่า อารมณ์ชมมา สุขาวดี
ลืมทุกข์โศกเศร้า เคยร้าวราคี มาจบลงที่ กลางดงพงไพร
สุขสันต์ทั่วหน้า เมื่อได้ชมป่า จิตใจสดใส
เสียงนกนางร้อง ดังก้องพงไพร ส่งเสียงใกล้ไกล ให้ใจเพลิดเพลิน
ร่มเย็นเห็นไม้ ทุกคนที่ได้ เหมือนนกเหาะเหิน
บินหาลูกไม้ กินได้ให้เพลิน พบหนทางเดิน ไม่เกินดงไพร
เป็นสุขจริงจริง ทั้งชายและหญิง ยิ่งเดินป่าไป
ชมธรรมชาติ สะอาดหมดภัย ทุกหนแห่งไหน ให้ใจสุขเอย.
..........................
ขอบพระคุณท่าน อ.หยาดกวี... มอบมรดกภาษา ควรค่า ที่คนไทย ควรใส่ใจอนุรักษ์
(ครูหนู) ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)